วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แบบของพินัยกรรม


แบบของพินัยกรรม 


ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๖ 
ได้แบ่งพินัยกรรมออกเป็น ๕ ประเภท

๑.พินัยกรรมแบบธรรมดา (มาตรา ๑๖๕๖) 
  • ต้องลงวันที่ เดือน ปี ในขณะที่ทำ จะลงสถานที่ทำพินัยกรรมด้วยก็ได้ เพราะข้อความในพินัยกรรมนั้น ผู้ทำไม่ต้องเขียนหรือพิมพ์เอง อาจให้ผู้อื่นเขียนหรือให้ผู้อื่นพิมพ์ ตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมเองก็ได้ 
  • ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย๒คน อยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น  
  • พยานทั้ง ๒ คนจะต้องลงลายมือชื่อรับรอง การขูด ลบ ข้อความพินัยกรรม ผู้ทำและเจ้าของพินัยกรรมจะต้องลงลายชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง 
๒.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (มาตรา ๑๖๕๗)
  • เป็นเอกสารที่ผู้ทำพินัยกรรมได้เขียนด้วยลายมือของตนทั้งฉบับ
  •  ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม 
  • เขียนพินัยกรรมของตนเองทั้งหมด ลงลายมือชื่อของตน 
  • ไม่ต้องมีพยานรับรอง 
  • หากมีการขูด ลบ ตก เติม ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง 
๓.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง (มาตรา ๑๖๕๘) 
  • ผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นคนรับรู้การทำพินัยกรรมของตน  
  • ผู้ประสงค์จะจัดทำพินัยกรรมจะต้องไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อหน้าพยาน ๒ คน 
  • พินัยกรรมประเภทนี้จะไปทำนอกสถานที่ก็ได้ หากเป็นความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม 
  • การขูด ลบ ตกแต่ง เพิ่มเติมข้อมูล ผู้ที่เป็นพยานและเจ้าหน้าที่จะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
๔.พินัยกรรมลับ (มาตรา ๑๖๖๐) 
  • ต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์เอง หรือให้ผู้อื่นทำให้ก็ได้  
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม 
  • ต้องปิดผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อตามรอยผนึกนั้น 
  • นำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อหน้าเจ้าพนักงานของรัฐและพยานอีกอย่างน้อย ๒ คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เขียนเองโดยตลอด ก็จะต้องแจ้งนาม และภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
  •  เมื่อเจ้าพนักงานของรับจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวันที่ เดือน ปีที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้น และประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้เจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น และประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้เจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซอง 
  • ผู้ทำพินัยกรรมจะลงลายพิมพ์นิ้วมือ และมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คนแทนลงลายมือชื่อบนซอง 
๕.พินัยกรรมด้วยวาจา (มาตรา ๑๖๖๓) 
  • ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย หรือการมีโรคระบาด หรือสงคราม จึงจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ 
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น 
  • พยาน ๒ คนนั้นต้องไปแสดงตนต่อหน้าเจ้าพนักงานของรัฐโดยเร็ว และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งไว้ด้วยวาจานั้น และต้องแจ้งวันที่ เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษนั้น  
  • เจ้าพนักงานของรัฐคนนั้นต้องจดแจ้งข้อความที่พยานได้แจ้งไว้ และพยานทั้ง ๒ คนนั้นต้องลงลายมือชื่อ หรือลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน
___________________________________________________________________________
ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค,วิชาว่าความและมารยาททนายความ ,พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน , ๒๕๔๘) หน้า๔๒๓-๔๒๔
บำรุง ตันจิตติวัฒน์,คำบรรยายประกอบการฝึกอบรมวิชาว่าความ(กรุงเทพฯ:บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด,๒๕๔๖)หน้า๒๗๐-๒๗๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น